หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 5

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
วันนี้ได้เรียนรู้เรื่อง
1.การเขียนชีวประวัติ คือการเขียนถึงคนอื่นซึ่งแตกต่างจากครั้ง 3 อัตชีวประวัติคือการเขียนถึงตัวเอง
2.การเขียนเรียงความ เทคนิคการเขียนจะประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือส่วนนำ ส่วนเนื้อหา ส่วนสรุป ส่วนนำจะมีได้แค่ย่อหน้าเดียว ส่วนของเนื้อหามาสามารถมีได้หลายย่อหน้า ส่วนสรุปได้แค่ย่อหน้าเดียว
3.การกล่าวเปิดปิดงาน ไว้ใช้ในพิธีการกล่าวงานสำคัญนั้นๆ
4.คำขวัญ เป็นคำที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจ คำพูดหรือให้ข้อคิด และต้องสั้นกะทัดรัด

ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
การเขียนเรียงความ
  • เอกภาพ คือ 1 ย่อหน้า 1 ใจความเดียว
  • สัมพันธภาพ คือ ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้าจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันเชื่อมโยงกัน
  • สารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด


การกล่าวเปิดงานหรือปิดงาน ต้องเรียงจากตำแหน่งสูงไปต่ำ และคำว่ากราบเรียนใช้ได้แค่กับนายกรัฐมนตรี  ประธานส. ประธานองคมนตรี

ข้อเสนอแนะ
วันนี้เป็นการนำเสนอที่น่าสนใจ มีขนมแจกด้วยกับการตอบคำถามแข่งกันเล่นเกม รู้สึกสนุกมากค่ะ





นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู 55113400197 ตอนเรียน D1

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันนี้เป็นสัปดาห์ที่สนุกอีกครั้ง หลังจากหยุดการประท้วงมานานเนื่องจากมหาวิทยาลัยสั่งปิด


สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
          วันนี้ดิฉันได้รับความรู้จากการนำเสนอของเพื่อน มีทั้งเรื่อง อัตชีวประวัติ การเขียนบทวิจารณ์ และสุดท้ายการเขียนเพื่อนเล่าเรื่อง

อัตชีวประวัติ
  • คือการเขียนเรื่องราวของตนเอง ให้ผู้อื่นทราบหรือการเล่าเรื่องของตนเองหรือผู้อื่น

การเขียนบทวิจารณ์
  • คือ การถ่ายทอดความคิดเห็นของตนเองทั้งข้อดีและข้อไม่ดีของเรื่องที่ชี้ให้เห็นข้อบกพร่องพร้อมทั้งนำเสนอแนวทางแก้ไขให้ดีขึ้น เป็นการวิจารณ์ที่สร้างสรรค์

        โครงสร้างของบทวิจารณ์ จะประกอบด้วย 4 ส่วน
        1.ชื่อเรื่อง ควรตั้งชื่อเรื่องให้มีความน่าสนใจและสื่อความหมายได้ชัดเจน
        2.ความนำหรือประเด็นที่วิจารณ์ เป็นบทนำ ถ้ารู้จักกันดีก็คือเกริ่นนั้นเอง
        3.เนื้อเรื่อง เป็นส่วนที่แสดงความคิดเห็นรายละเอียดวิจารณ์ทั้งจุดดีและจุดไม่ดีหรือจุดบกพร่อง 
           ของเรื่อง
        4.สรุป อาจจะสรุปทั้งหมดของเรื่องหรือจะให้แง่คิดหรือการนำไปใช้ประโยชน์ได้หลักๆของการ      
           วิจารณ์ก็ประมาณนี้ค่ะ
การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง 
  • คือการนำเสนอเรื่องราวหรือเหตุการณ์ ถ่ายทอดให้ผู้อ่านทราบ เช่นการเขียนสารคดี ชีวประวัติ การเขียนเรียงความ และอื่นๆ
        หลักๆการเขียนเล่าเรื่องคือ เลือกเนื้อเรื่องที่น่าสนใจ , การเรียงลำดับเหตุการณ์, ใช้สำนวนให้เหมาะ ดิฉันคิดว่าแค่นี้ก็เพียงพอที่จะเป็นการเขียนเล่าเรื่องได้แล้ว


ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
การเขียนอัตชีวประวัติ เคยคุ้นหูมาก แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคืออะไรวันนี้ก็ได้รู้แล้ว ว่าคืออะไรย้อนกลับไปที่สิ่งที่ได้รับการเรียนรู้ และการเขียนวิจารณ์ซึ่งก่อนที่เพื่อนๆจะนำเสนอคิดว่าคงเป็นการแสดงความคิดเห็นในด้านลบเพียงอย่างเดียว เพราะคำว่าวิจารณ์ฟังแล้วมันดูเหมือนไปในทางด้านลบค่ะ แต่พอมาฟังเพื่อนนำเสนอ ก็มีทั้งด้านดีและด้านลบ ก็เป็นความรู้ใหม่ของฉันค่ะ
 
ข้อเสนอแนะ
การนำเสนอของเพื่อนในวันนี้ มีการนำเสนอที่น่าสนใจมากทั้งมีตัวอย่าง สื่อนำเสนอ วีดีโอ และเกมส์
อย่างกลุ่มของการเขียนเพื่อเล่าเรื่องมีวีดีโอการ์ตูนเล่าเรื่องที่น่าสนใจ เป็นสิ่งที่ดึงดูดเพื่อนๆได้เป็นอย่างดี ทำให้รู้สึกไม่เบื่อค่ะ เป็นสิ่งที่ดีมาก และในอนาคตดิฉันอาจเอาวิธีนี้นำไปใช้การสอนในอนาคต



นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู รหัส 55113400197 ตอนเรียน D1



วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 3

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้

เรื่องสื่อสารด้วยการเขียน
               การเขียน คือ การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึก ของผู้ส่งสารออกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้อ่านทำความเข้าใจสนองได้ตามจุดประสงค์
                วันนี้ดิฉันได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารด้วยภาษาเขียน ลักษณะของภาษาเขียนมี ภาษาปาก ภาษากึ่งทางกลาง ภาษาทางการ ความหมายเดียวกันแต่ใช้ระดับภาษาต่างกัน เช่น ภาษาปาก รถเครื่อง
,ภาษากึ่งทางการ มอเตอร์ไซต์,ภาษาทางการ รถจักรยานยนต์  การใช้คำที่เขียนเหมือนกัน แต่เมื่อคำเหล่านี้ไปวางอยู่ในประโยคต่างกัน หน้าคำกริยา หลังคำกริยา อาจทำให้คำนั้นเปลี่ยนความหมายได้  ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ คำที่มีความหมายคล้ายกัน  ลักษณนาม คำเชื่อม คำในสำนวน คำราชาศัพท์ รวมไปถึงการใช้คำที่ไม่เป็นแบบแผนมีคำสแลง คำซ้ำ คำอุทาน ตัวย่อ เป็นต้น

ความรู้ใหม่ที่ได้รับ 
          -กริยา ใช้กับคำที่แสดงอาการของนามและสรรพนาม  ,กิริยา ใช้กับพวกที่แสดงออกมาทางการกระทำ มารยาท
          -ปราณี จะใช้กับชื่อคน , ปรานี จะใช้กับความสงสาร
          -คำว่านิสิตกับนักศึกษา นิสิตคือผู้ขออาศัย ส่วนมากจะอาศัยในมหาวิทยาลัย เพราะเดินทางไม่สะดวก หรือขึ้นอยู่กับการบัญญัติของมหาวิทยาลัย ,นักศึกษา คือ ผู้ไม่ได้ขออาศัย
          -ตัว t ขึ้นต้น จะใช้ ท แต่ถ้าเมื่อไรที่ตัว t สะกด จะเป็น ต

ข้อเสนอแนะ

         การเขียนภาษาเขียนเป็นภาษาปาก ควรนึกถึงกาลเทศะในการเขียน การเขียนสำคัญกับเรามานานแล้วตั้งแต่ยังไม่มีเทคโนโลยี ก็จะใช้การเขียนจดหมายเพื่อสื่อสารกัน ให้เข้าใจ แต่ปัจจุบันเราเริ่มมีเทคโนโลยีเข้ามาใกล้ตัวมากขึ้นเพื่อให้ติดต่อสื่อสารกันอย่างรวดเร็ว แต่ใช้ว่าการสื่อสารการเขียนจะลดน้อยลง เพราะว่าการใช้ ไลน์ แชท อีเมล ล้วนใช้การเขียนทั้งนั้น แต่เราก็ควรเขียนให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อรักษาภาษาไทยแบบถูกต้องไว้ค่ะ



นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู รหัส 55113400197 ตอนเรียน D1

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 2

          วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เป็นวันแรกที่ดิฉันเรียนวิชาทักษะการเขียนสำหรับครู กับ ดร.วัชรพล วิบูลยศวิน รู้สึกสนุกกับการเรียนวิชานี้มากค่ะ

     
สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
เรื่องภาษาและการเขียน
               ภาษา  หมายถึง
คำพูดหรือถ้อยคำของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเพื่อสื่อสารและรับรู้เพื่อให้เข้าใจตรงกัน
     ประเภทของภาษา
          1.วจนภาษา คือสื่อสารด้วยภาษาพูดและภาษาเขียน
          2.อัวจนภาษา คือ การสื่อที่ไม่ใช่วาจา เป็นอารมณ์ ความรู้สึก ท่าทาง (กิริยาที่สามารถมองเห็นได้)
          ถ้าในภาษาไทยก็จะมีประเภทของภาษาเพียงเท่านี้ แต่ถ้าในต่างประเทศจะมีเพิ่มอีกประเภทหนึ่งคือ
          การสื่อสารด้วยจักษุสัมผัสหรือการมองเห็น คือ สัญลักษณ์ต่างๆที่มองเห็นและรับรู้เข้าใจตรงกันของคนส่ว
นมาก
     
     ลักษณะทั่วไปของภาษา
          1.ภาษามี เสียงและความหมาย (ถ้ามีแต่เสียงจะไม่เรียกว่าภาษา)
          2.มีไวยากรณ์ เฉพาะของแต่ละภาษา
         
3.อาจมีสิ่งแวดล้อมกำหนด
               ตัวอย่าง ทำไมถึงเรียกปากกา เพราะปากกามีลักษณะคล้ายปากของกา นี้คือสิ่งแวดล้อมกำหนดภาษา
         
4.ภาษามีประโยคไม่รู้จบ
         
5.ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
              
- ความเปลี่ยนไป
              
- ความหมายกว้างขึ้น
             
 - ความหมายแคบลง
        
 6.การกำหนดสัญลักษณ์ร่วมกัน
    
     ลักษณะเฉพาะภาษาไทย
         
1.มีภาษาของตนเอง
          
2.เป็นคำโดด
         
3.ภาษาไทยส่วนมากเป็นคำพยางค์เดียว มีความหมายสมบูรณ์
         
4.คำเดียวอาจมีหลายความหมาย มีหลายหน้าที่
         
5.เป็นลักษณนาม
         
6.มีเสียงวรรณยุกต์
         
7.มีระดับของคำกับบุคคล
         
8.
ภาษากวี  การเล่นคำ

     ภาษาพูดและเขียน
         
1.ภาษาเขียนจะไม่ใช้ถ้อยคำของภาษาพูดมาเขียน
         
2.ภาษาเขียนไม่มีสำนวนเปรียบเทียบที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ พลิกล็อค โดดร่ม
         
3.ภาษาเขียนมีการเรียบเรียงถ้อยคำให้สละสลวยชัดเจน
         
4.
ภาษาเขียนไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ภาษาพูด ผู้พูดมีโอกาสชี้แจงแก้ไขได้

     ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน
         
1.ภาษาเขียนใช้คำมาตารฐานหรือคำแบบแผน
         
2.ภาษาพูดออกเสียงไม่ตรงกับภาษาเขียน (ส่วนมาก)
          3.ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ได้ดีกว่าภาษาเขียน
          4.ภาษานิยมใช้คำพูดหรือคำลงท้าย เพื่อให้ฟังดูแล้วสุภาพ เช่น ไปไหนคะ  
          5.ภาษาพูดนิยมใช้คำซ้ำและคำซ้อนบางชนิดเพียงให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ความรู้ใหม่ที่ได้รับ 
          -ภาษาภาษาบาลี สันสกฤต ไม่มีตัวอักษรเป็นของตัวเอง ไม่มีใครระบุไว้
         
-ภาษาเกาหลีเรียงไวยากรณ์เป็น ประธาน กรรม กิริยา
         
-ช้างป่าเรียกว่า 1 ตัว  ช้างที่มาเลี้ยงแล้วเรียก 1 เชือก
         
-Games = เกมส์ ใช้กับหลายๆเกม ,Game= เกม ใช้กับเกมเดียว

ข้อเสนอแนะ

         เมื่อเขียนภาษาเขียนแล้ว ควรเขียนให้ถูกต้องตามแบบแผนของภาษาเขียน เพื่ออนุรักษ์ภาษาไว้ เพราะสมัยนี้ผู้คนส่วนมากมักจะเขียนภาษาเขียนตามภาษาพูดของตัวเอง ควรอนุรักษ์ภาษาไทยค่ะ



นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู รหัส 55113400197 ตอนเรียน D1