สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
เรื่องความงามทางภาษา
ความงามของภาษา หมายถึง ความสละสลวยไพเราะของภาษาอันเนื่องมาจากการใช้ ศิลปะการ ประพันธ์และโวหารภาพพจน์
โวหาร
หมายถึง กลวิธีในการใช้ภาษาด้วยการเลือกถ้อยคำมาเรียบเรียงในการเขียนเรื่องราวต่างๆ
หรือพูดให้มีความสละสลวย
เหมาะสม ชัดเจน เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์
ประเภทโวหาร
1.บรรยายโวหาร บอกเล่าเรื่องราวอย่างแจ่มแจ้ง อย่างรวดเร็ว
ไม่มุ่งเน้นเห็นภาพ
2.พรรณาโวหาร บรรยายเรื่องราวละเอียด ประณีต โดยแทรกอารมณ์
และภาพพจน์ให้คล้อยตาม มุ่งเน้นเห็นภาพ
มากกว่าเห็นเรื่องราว
3.เทศนาโวหาร กระบวนการเขียนแบบแนะนำสั่งสอน
โน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นและปฏิบัติตาม
4.อุปมาโวหาร เป็นการเปรียบเทียบ ให้เกิดความคมคลายชัดเจน
5.สาธกโวหาร
ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ภาพพจน์ หมายถึง
ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นสำนวนที่ไม่กล่าวตรงไปตรงมา
แต่ทำให้เกิดภาพและถ่ายทอดอารมณ์อย่างกว้างขว้าง
ประเภทภาพพจน์
1.อุปมา คือการเปรียบเหมือน
2.อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเป็น
3.อภิพจน์ คือการกล่าวเกินจริง (มักใช้ในภาษาพูด)
ตัวอย่าง
คิดถึงใจจะขาด , การบินรักคุณเท่าฟ้า
4.อวพจน์ คือ กล่าวน้อยกว่าความเป็นจริง
ตัวอย่าง เล็กเท่าขี้ตาแมว ,รออีกอึดใจเดียว
ตัวอย่าง เล็กเท่าขี้ตาแมว ,รออีกอึดใจเดียว
5.สัญลักษณ์ คือ การเรียกสิ่งหนึ่งแทนสิ่งหนึ่ง (ในสังคมนั้นๆ)
ตัวอย่าง แสงสว่าง
= ปัญญา , หงส์
= คนชนชั้นสูง , ราชสีห์
= ผู้มีอำนาจ
6.นามนัย คือ คล้ายๆกับสัญลักษณ์แต่ต่างกันตรงที่เอาลักษณะบางส่วนของสิ่งนั้นมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด
ตัวอย่าง สมอ = กองทัพเรือ , เก้าอี้
= ตำแหน่งผู้บริหาร , สิงโตคำราม =
อังกฤษ , อินทรีเหล็ก
= บราซิล
7.สัทพจน์ คือ คำเลียนเสียงธรรมชาติทั้งหมดรวมถึงเสียงเครื่องดนตรี
ตัวอย่าง
แมวร้องเหมียวๆ , เปรี้ยงๆดังเสียงฟ้าฟาด
8.บุคลาธิษฐานหรือบุคคลวัต คือ
สิ่งไม่มีชีวิตเลียนแบบการกระทำของคน
ตัวอย่าง
ต้นไม้คุยกัน , ดอกไม้ร้องเพลง
9.ปฏิพจน์หรือปฏิภาคพจน์ คือ คำขัดแย้งกันนำมาเข้าคู่กันได้อย่างกลมกลืน
ตัวอย่าง
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย
ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
คำว่า ‘’ภาพพจน์’’ เรามักจะได้ยินว่า ทำให้ภาพพจน์ฉันเสียหายหมด ที่จริงแล้วเป็นการใช้ที่ผิดเพราะ ภาพพจน์คือ คำที่ก่อให้เกิดภาพขึ้นมา ถ้าให้ถูกต้องเราต้องใช้ ‘’ภาพลักษณ์’’ ทำให้ภาพลักษณ์ฉันเสียหายหมด ภาพลักษณ์ก็คือลักษณ์ที่เรามองให้เป็นภาพ
คำว่า ‘’ภาพพจน์’’ เรามักจะได้ยินว่า ทำให้ภาพพจน์ฉันเสียหายหมด ที่จริงแล้วเป็นการใช้ที่ผิดเพราะ ภาพพจน์คือ คำที่ก่อให้เกิดภาพขึ้นมา ถ้าให้ถูกต้องเราต้องใช้ ‘’ภาพลักษณ์’’ ทำให้ภาพลักษณ์ฉันเสียหายหมด ภาพลักษณ์ก็คือลักษณ์ที่เรามองให้เป็นภาพ
ภาพพจน์ในเรื่องของสัญลักษณ์
สัญลักษณ์หงส์ในประเทศไทยคือคนชนชั้นสูง แต่สัญลักษณ์หงส์ในประเทศจีน หงส์คือผู้หญิง
ข้อเสนอแนะ
ดิฉันเป็นคนที่ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือพิมพ์มากนัก
จากการเรียนในวันนี้ทำให้เข้าใจมากขึ้นกับภาพพจน์ทุกอย่างเลย
ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับนามนัยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ
แต่แรก งง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ว่าแปลยังไง
แต่พอได้เรียนในวันนี้รู้แล้วว่าเป็นการกล่าวส่วนทั้งหมด
แต่เขาจะนิยมพูดถึงส่วนหนึ่งของส่วนทั้งหมดค่ะ เป็นการเรียนที่สนุกมากค่ะวันนี้ การสอนยกตัวอย่างแบบใกล้ตัว
และที่เจอบ่อยๆ เห็นบ่อยๆ และเราสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น มันทำให้สนุกและไม่น่าเบื่อ
ดิฉันจะนำไปใช้การสอนในอนาคต
นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู รหัส 55113400197 ตอนเรียน D1
ฉันได้อ่นแล้วได้รับความรู้เพิ่มขึ้นมากเลย
ตอบลบเป็นการสรุปที่ดีมากค่ะ ^^
ตอบลบสรุปสั้นๆแต่ได้ใจความ อ่านแล้วทำความเข้าใจที่ง่ายดีครับ
ตอบลบเขียนสรุปได้ดีมากค่ะ เรียบร้อย อ่านง่าย และก็เข้าใจได้ง่ายดีค่
ตอบลบอ่านง่ายเข้าใจดีค่ะ
ตอบลบเนื้อหาดีมากค่ะ ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเยอะเลย
ตอบลบสรุปเนื้อหาได้เข้าใจมากค่ะ
ตอบลบ