หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 10

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
 วันนี้ได้รับความรู้ 2 เรื่องใหญ่ๆ การเขียนโครงการและการเขียนรายงานวิชาการ
 การเขียนโครงการ
การเขียนโครงการ เป็นกระบวนการในการทำงานประกอบด้วยหลายๆ กิจกรรมให้เป็นไปตามลำดับขั้นโดยไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กำหนดระยะเวลา และงบประมาณที่จำกัด ในการดำเนินงาน ต้องมีผู้รับผิดชอบโครงการ

ลักษณะโครงการ
     -ต้องมีระบบ
     -ต้องมีวัตถุประสงค์
     -ต้องเป็นการดำเนินงานในอนาคต
     -เป็นการทำงานชั่วคราว
     -มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
     -มีลักษณะเป็นงานที่เร่งด่วน
     -ต้องมีต้นทุนการผลิตต่ำ
     -การริเริ่มหรือพัฒนางาน

องค์ประกอบโครงการ
1.ชื่อโครงการ อ่านแล้วรู้เลยว่าทำอะไร มีความชัดเจน เหมาะสม
2.หน่วยงานรับผิดชอบ ระบุหน่วยงาน ถ้าทำร่วมกับหน่วยงานใด ให้เอาหน่วยงานที่ร่วมขึ้นก่อน
3.ผู้รับผิดชอบโครงการ  ระบุผู้รับผิดชอบในโครงการนั้นๆให้ชัดเจนว่าเป็นของใคร มีตำแหน่งใดในโครงการนั้น
4.หลักการและเหตุผล แสดงถึงปัญหาความจำเป็นหรือความต้องการที่จะจัดทำโครงการขึ้น
5.วัตถุประสงค์ เขียนให้เป็นเชิงพฤติกรรม เป็นข้อความที่แสดงถึงความต้องการที่จะทำสิ่งต่างๆ
6.เป้าหมาย แสดงให้เห็นผลงานหรือผลลัพธ์ที่ระบุคุณภาพ
7.ระยะเวลาในการทำโครงการ  ระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มโครงการและเวลาสิ้นสุด
8.วิธีการดำเนินการ เป็นขั้นตอนตามลำดับก่อนหลัง แสดงให้เห็นตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการว่ามีกิจกรรมใดที่ต้องทำ
9.แผนปฏิบัติงาน การนำเอาขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงานมาใส่ในตารางแผนปฏิบัติงาน
10.งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ แบ่งเป็น เงินสด ส่วนนี้เราสามารถเบิกได้
และอีกส่วนคือ ค่าใช้จ่ายที่เป็นมูลค่า เบิกไม่ได้
11.ผลที่คาดว่าจะได้รับ ตั้งวัตถุประสงค์คืออะไรผลที่คาดว่าจะได้รับคือตามวัตถุประสงค์
12.การติดตามและประเมินผลโครงการ  แสดงถึงการติดตาม การควบคุม การกำกับเช่น กระดาษประเมิน แบบทดสอบ



 การเขียนรายงานวิชาการ
คือผลของการศึกษาค้นคว้า หาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นลายลักษณ์อักษร มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ค้นคว้า และมีการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งเสนอแนะความคิดเห็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์

ความสำคัญ
1.รู้จักวิธีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ
2.มีความรู้ความคิดของนักศึกษา แล้วนำเสนอความรู้ ความคิดได้อย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนการทำ
1.พิจารณา วัตถุประสงค์
2.กำหนดหัวเรื่อง
3.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดขอบเขต
4.รวบรวมและบันทึกข้อมูล
5.วิเคราะห์ข้อมูล
6.เชื่อมโยงข้อมูลสัมพันธ์
7.เรียบเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบ
8.ตรวจสอบความถูกต้อง
9.จัดรูปเล่มให้เหมาะสม

องค์ประกอบของรายงานวิชาการ
1.ชื่อเรื่อง
2.ชื่อผู้ทำรายงาน
3.คำนำ
4.สารบัญ
5.บทนำ
6.เนื้อหา
7.บทสรุป
8.บรรณานุกรม

ส่วนประกอบรายงานทั้งเล่มประกอบด้วย 3 ส่วน
1.ส่วนนำ
     1.1ปกนอก
           - ส่วนบน
           - ส่วนกลาง
           - ส่วนล่าง
     1.2ใบรองปก
     1.3ปกใน
     1.4คำนำ ห้ามเขียนแก้ตัว
     1.5สารบัญ
2.ส่วนเนื้อหา
     2.1บทนำเรื่อง เกริ่นให้ทราบ ที่มา หรือปัญหา สภาพการณ์ในปัจุจบัน
     2.2ส่วนเนื้อหา เชื่อมโยงจากบทนำเข้าสู่เนื้อหา ให้นิยามศัพท์เฉพาะ เสนอหลักการและแนวคิด อธิบายขยายความ ให้แผนภูมิภาพ ตาราง
     2.3บทสรุป สรุปเนื้อหา
3.ส่วนท้าย
     3.1บรรณานุกรม กรณีรายชื่อหนังสือไม่เกิน 5 เล่ม ให้ใช้ คำว่า เอกสารอ้างอิง
     3.2ภาคผนวก
     3.3อภิธานศัพท์
     3.4ดรรชนี

หลักการเขียนรายงานวิชาการ
ใช้คำและข้อความสุภาพ ศัพท์ทางการ   ใช้คำเต็มไม่ใช้คำย่อ

ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
  1. โครงการที่อบรมและแลกเปลี่ยนความคิดของบุคคล เรียกว่า โครงการสัมมนา
  2. รองหัวหน้าโครงการทำหน้าที่ต่อเมื่อหัวหน้าไม่อยู่ เหมือนขึ้นแทนเป็นหัวหน้า
  3. ระยะเวลาในการทำโครงการ ถ้าทั้งวันคิดเป็นวัน อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง

ข้อเสนอแนะ
การทำโครงการควรนึกถึงความพอดี ควรสำรวจผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้ไม่ขาดทุนและเพิ่มทุนโดยใช้ทรัพย์สินของเรา กำหนดวางแผนอย่างละเอียดระยะเวลาก็สำคัญในการทำโครงการ แต่ตัวที่สำคัญก็เป็นงบประมาณ เช่น ถ้าเกิดวันหนึ่งเราไปเป็นครูของรัฐ ต้องทำโครงการ และมีการเบิกงบประมาณมาใช้ในการทำโครงการควรสำรวจนักเรียนที่จะเข้าร่วมจำนวนอย่างชัดเจนเพื่อมิให้เป็นการขาดทุนหรือเสียทุน


นางสาวสุอังคณา  เฟื่องฟู  55113400197 ตอนเรียน D1

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 9

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
  เรื่อง ระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ  


  งานสารบรรณ  
1.งานจัดทำ
2.การรับ
3.การส่ง
4.การเก็บรักษา
5.การยืม
6.การทำลาย
     
     ชั้นความเร็วและชั้นความลับ
     ชั้นความเร็ว
          ด่วนที่สุด- รับวันนี้ส่งวันนี้ก่อนเวลาราชการ
          
          ด่วนมาก-รับวันนี้ส่งวันพรุ่งนี้ก่อน 8.30 .
          
           ด่วน-รับวันนี้ส่งวันพรุ่งนี้ก่อนเวลาราชการ 16.00 .
     ชั้นความลับ
          ลับ-คือเรื่องที่เป็นความลับ แต่เราสามารถรู้ได้ทีหลังหรือระหว่างนั้น เช่น การตรากฎหมายที่สำคัญ           บางเรื่อง ประกาศหรือคำสั่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการ  เอกสารเกี่ยวกับการคัดเลือก การบรรจุ เลื่อน             ตำแหน่ง เป็นต้น
          
          ลับมาก-แผนที่บอกใครไม่ได้ เสร็จแล้วก็บอกไม่ได้ เช่น แผนปราบปรามผู้ก่อการร้าย การตรา                   กฎหมายเกี่ยวกับภาษี  ข่าวกรองฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น
          
           ลับที่สุด-นโยบายหรือแผนการที่สำคัญยิ่งของชาติ เอกสารการเมืองที่สำคัญ ยิ่งเกี่ยวกับความ                 มั่นคง แผนยุทธศาสตร์ แผนป้องกันประเทศ


  หนังสือราชการ  
         ชนิดของหนังสือราชการ
            1.หนังสือภายนอก นอกส่วนราชการเป็นพิธีการ ใช้กระดาษตราครุฑ
            2.หนังสือภายใน ในกระทรวงและจังหวัดเดียวกัน เป็นพิธีการน้อย ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
            3.หนังสือประทับตรา ใช้ตราครุฑ
            4.หนังสือสั่งการ คำสั่งระเบียบ ข้อบังคับ
            5.หนังสือประชาสัมพันธ์  ประกาศ แถลงการณ์ข่าว
            6.หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ หนังสือรับรอง รายงานการ                 ประชุม บันทึก

         ปัญหาในการเขียนหนังสือราชการ
         หลักการเขียน
           1.ปัญหา
           2.ข้อเท็จจริง
           3.ข้อพิจารณา
           4.ข้อเสนอ

         การเขียนรายงานการประชุม
         ปัญหาของการเขียนรายงานการประชุม
           -ไม่รู้วิธีดำเนินการประชุมที่ถูกต้อง
           -ขาดทักษะในการจับประเด็นและสรุปความ
         ประโยชน์
           -เป็นหลักฐานการปฏิบัติงาน
           -เป็นเครื่องมือในการติดตามงาน
           -ใช้อ้างอิง
           -เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร

         ตัวอย่างรายงานการประชุม
                         รายงานการประชุมๅ....(หน่วยงานที่จัดการประชุม)…
ครั้งที่…………………..
เมื่อวันที่………………….
ผู้มาประชุม ……………(ผู้มีสิทธิ์ในการประชุม)……………
ผู้ไม่มาประชุม………………………………………
ผู้เข้าร่วมประชุม…………………………………………
เริ่มประชุมเวลา………………………………
             ประธานกล่าวเปิดการประชุม
             ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
             ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องการรับรองรายงานการประชุม
             ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอให้ที่ประชุมทราบ
             ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
             ระเบียบวาระที่ 3 ระเบียบวาระที่ 4 อาจอยู่ด้วยกันก็ได้
             ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น (ถ้ามี)
             ประธานกล่าวปิดการประชุม
             เลิกประชุมเวลา …………….
........................................
ผู้จดรายงานการประชุม


ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
การจัดทำสำเนา เราควรที่จะทำไว้ทั้งสองฉบับ อีกฉบับให้อีกคนอีกฉบับเราทำเก็บไว้เสมอ เพื่อการป้องกันตัวเราเอง
อนุญาต เป็นเรื่องส่วนตัว ยินยอม ยอมใช้ ไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ ศึกษาต่อ ลาออก
อนุมัติ เรื่องที่เป็นความรับผิดชอบขององค์กร เกี่ยวข้องกับงบประมาณของหน่วยงาน
หนังสือราชการ ผู้ที่มียศตำแหน่งสูงกว่าเมื่อส่งหนังสือให้กับบุคคลที่มีตำแหน่งน้อยกว่า และเมื่อบุคคลที่มีตำแหน่งน้อยกว่ารับ จะ ‘’รับทราบ’’ แต่ถ้ากลับกัน ผู้ที่มียศตำแหน่งสูงกว่ารับหนังสือกับบุคคลที่มีตำแหน่งน้อยกว่า จะใช้ ‘’ทราบ’’

ข้อเสนอแนะ
จากความรู้ที่ดิฉันได้รับในวันนี้เป็นโยชน์กับดิฉันมากในเรื่องของหนังสือราชการ อาจเป็นแค่คำๆหนึ่งแต่ต้องใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองในตำแหน่งนั้น ดิฉันจะนำไปใช้ในอนาคตและใช้อย่างถูกต้องค่ะ




นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู รหัส 55113400197 ตอนเรียน D1