หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 10

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
 วันนี้ได้รับความรู้ 2 เรื่องใหญ่ๆ การเขียนโครงการและการเขียนรายงานวิชาการ
 การเขียนโครงการ
การเขียนโครงการ เป็นกระบวนการในการทำงานประกอบด้วยหลายๆ กิจกรรมให้เป็นไปตามลำดับขั้นโดยไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กำหนดระยะเวลา และงบประมาณที่จำกัด ในการดำเนินงาน ต้องมีผู้รับผิดชอบโครงการ

ลักษณะโครงการ
     -ต้องมีระบบ
     -ต้องมีวัตถุประสงค์
     -ต้องเป็นการดำเนินงานในอนาคต
     -เป็นการทำงานชั่วคราว
     -มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน
     -มีลักษณะเป็นงานที่เร่งด่วน
     -ต้องมีต้นทุนการผลิตต่ำ
     -การริเริ่มหรือพัฒนางาน

องค์ประกอบโครงการ
1.ชื่อโครงการ อ่านแล้วรู้เลยว่าทำอะไร มีความชัดเจน เหมาะสม
2.หน่วยงานรับผิดชอบ ระบุหน่วยงาน ถ้าทำร่วมกับหน่วยงานใด ให้เอาหน่วยงานที่ร่วมขึ้นก่อน
3.ผู้รับผิดชอบโครงการ  ระบุผู้รับผิดชอบในโครงการนั้นๆให้ชัดเจนว่าเป็นของใคร มีตำแหน่งใดในโครงการนั้น
4.หลักการและเหตุผล แสดงถึงปัญหาความจำเป็นหรือความต้องการที่จะจัดทำโครงการขึ้น
5.วัตถุประสงค์ เขียนให้เป็นเชิงพฤติกรรม เป็นข้อความที่แสดงถึงความต้องการที่จะทำสิ่งต่างๆ
6.เป้าหมาย แสดงให้เห็นผลงานหรือผลลัพธ์ที่ระบุคุณภาพ
7.ระยะเวลาในการทำโครงการ  ระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มโครงการและเวลาสิ้นสุด
8.วิธีการดำเนินการ เป็นขั้นตอนตามลำดับก่อนหลัง แสดงให้เห็นตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการว่ามีกิจกรรมใดที่ต้องทำ
9.แผนปฏิบัติงาน การนำเอาขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงานมาใส่ในตารางแผนปฏิบัติงาน
10.งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้ แบ่งเป็น เงินสด ส่วนนี้เราสามารถเบิกได้
และอีกส่วนคือ ค่าใช้จ่ายที่เป็นมูลค่า เบิกไม่ได้
11.ผลที่คาดว่าจะได้รับ ตั้งวัตถุประสงค์คืออะไรผลที่คาดว่าจะได้รับคือตามวัตถุประสงค์
12.การติดตามและประเมินผลโครงการ  แสดงถึงการติดตาม การควบคุม การกำกับเช่น กระดาษประเมิน แบบทดสอบ



 การเขียนรายงานวิชาการ
คือผลของการศึกษาค้นคว้า หาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างเป็นระบบ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นลายลักษณ์อักษร มีการอ้างอิงแหล่งข้อมูลที่ค้นคว้า และมีการวิเคราะห์ข้อมูล พร้อมทั้งเสนอแนะความคิดเห็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์

ความสำคัญ
1.รู้จักวิธีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบ
2.มีความรู้ความคิดของนักศึกษา แล้วนำเสนอความรู้ ความคิดได้อย่างเป็นระบบ

ขั้นตอนการทำ
1.พิจารณา วัตถุประสงค์
2.กำหนดหัวเรื่อง
3.ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดขอบเขต
4.รวบรวมและบันทึกข้อมูล
5.วิเคราะห์ข้อมูล
6.เชื่อมโยงข้อมูลสัมพันธ์
7.เรียบเรียงข้อมูลอย่างเป็นระบบ
8.ตรวจสอบความถูกต้อง
9.จัดรูปเล่มให้เหมาะสม

องค์ประกอบของรายงานวิชาการ
1.ชื่อเรื่อง
2.ชื่อผู้ทำรายงาน
3.คำนำ
4.สารบัญ
5.บทนำ
6.เนื้อหา
7.บทสรุป
8.บรรณานุกรม

ส่วนประกอบรายงานทั้งเล่มประกอบด้วย 3 ส่วน
1.ส่วนนำ
     1.1ปกนอก
           - ส่วนบน
           - ส่วนกลาง
           - ส่วนล่าง
     1.2ใบรองปก
     1.3ปกใน
     1.4คำนำ ห้ามเขียนแก้ตัว
     1.5สารบัญ
2.ส่วนเนื้อหา
     2.1บทนำเรื่อง เกริ่นให้ทราบ ที่มา หรือปัญหา สภาพการณ์ในปัจุจบัน
     2.2ส่วนเนื้อหา เชื่อมโยงจากบทนำเข้าสู่เนื้อหา ให้นิยามศัพท์เฉพาะ เสนอหลักการและแนวคิด อธิบายขยายความ ให้แผนภูมิภาพ ตาราง
     2.3บทสรุป สรุปเนื้อหา
3.ส่วนท้าย
     3.1บรรณานุกรม กรณีรายชื่อหนังสือไม่เกิน 5 เล่ม ให้ใช้ คำว่า เอกสารอ้างอิง
     3.2ภาคผนวก
     3.3อภิธานศัพท์
     3.4ดรรชนี

หลักการเขียนรายงานวิชาการ
ใช้คำและข้อความสุภาพ ศัพท์ทางการ   ใช้คำเต็มไม่ใช้คำย่อ

ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
  1. โครงการที่อบรมและแลกเปลี่ยนความคิดของบุคคล เรียกว่า โครงการสัมมนา
  2. รองหัวหน้าโครงการทำหน้าที่ต่อเมื่อหัวหน้าไม่อยู่ เหมือนขึ้นแทนเป็นหัวหน้า
  3. ระยะเวลาในการทำโครงการ ถ้าทั้งวันคิดเป็นวัน อย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง

ข้อเสนอแนะ
การทำโครงการควรนึกถึงความพอดี ควรสำรวจผู้ที่เข้าร่วมโครงการจะได้ไม่ขาดทุนและเพิ่มทุนโดยใช้ทรัพย์สินของเรา กำหนดวางแผนอย่างละเอียดระยะเวลาก็สำคัญในการทำโครงการ แต่ตัวที่สำคัญก็เป็นงบประมาณ เช่น ถ้าเกิดวันหนึ่งเราไปเป็นครูของรัฐ ต้องทำโครงการ และมีการเบิกงบประมาณมาใช้ในการทำโครงการควรสำรวจนักเรียนที่จะเข้าร่วมจำนวนอย่างชัดเจนเพื่อมิให้เป็นการขาดทุนหรือเสียทุน


นางสาวสุอังคณา  เฟื่องฟู  55113400197 ตอนเรียน D1

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 9

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
  เรื่อง ระเบียบงานสารบรรณและการเขียนหนังสือราชการ  


  งานสารบรรณ  
1.งานจัดทำ
2.การรับ
3.การส่ง
4.การเก็บรักษา
5.การยืม
6.การทำลาย
     
     ชั้นความเร็วและชั้นความลับ
     ชั้นความเร็ว
          ด่วนที่สุด- รับวันนี้ส่งวันนี้ก่อนเวลาราชการ
          
          ด่วนมาก-รับวันนี้ส่งวันพรุ่งนี้ก่อน 8.30 .
          
           ด่วน-รับวันนี้ส่งวันพรุ่งนี้ก่อนเวลาราชการ 16.00 .
     ชั้นความลับ
          ลับ-คือเรื่องที่เป็นความลับ แต่เราสามารถรู้ได้ทีหลังหรือระหว่างนั้น เช่น การตรากฎหมายที่สำคัญ           บางเรื่อง ประกาศหรือคำสั่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการ  เอกสารเกี่ยวกับการคัดเลือก การบรรจุ เลื่อน             ตำแหน่ง เป็นต้น
          
          ลับมาก-แผนที่บอกใครไม่ได้ เสร็จแล้วก็บอกไม่ได้ เช่น แผนปราบปรามผู้ก่อการร้าย การตรา                   กฎหมายเกี่ยวกับภาษี  ข่าวกรองฝ่ายตรงข้าม เป็นต้น
          
           ลับที่สุด-นโยบายหรือแผนการที่สำคัญยิ่งของชาติ เอกสารการเมืองที่สำคัญ ยิ่งเกี่ยวกับความ                 มั่นคง แผนยุทธศาสตร์ แผนป้องกันประเทศ


  หนังสือราชการ  
         ชนิดของหนังสือราชการ
            1.หนังสือภายนอก นอกส่วนราชการเป็นพิธีการ ใช้กระดาษตราครุฑ
            2.หนังสือภายใน ในกระทรวงและจังหวัดเดียวกัน เป็นพิธีการน้อย ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
            3.หนังสือประทับตรา ใช้ตราครุฑ
            4.หนังสือสั่งการ คำสั่งระเบียบ ข้อบังคับ
            5.หนังสือประชาสัมพันธ์  ประกาศ แถลงการณ์ข่าว
            6.หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการ หนังสือรับรอง รายงานการ                 ประชุม บันทึก

         ปัญหาในการเขียนหนังสือราชการ
         หลักการเขียน
           1.ปัญหา
           2.ข้อเท็จจริง
           3.ข้อพิจารณา
           4.ข้อเสนอ

         การเขียนรายงานการประชุม
         ปัญหาของการเขียนรายงานการประชุม
           -ไม่รู้วิธีดำเนินการประชุมที่ถูกต้อง
           -ขาดทักษะในการจับประเด็นและสรุปความ
         ประโยชน์
           -เป็นหลักฐานการปฏิบัติงาน
           -เป็นเครื่องมือในการติดตามงาน
           -ใช้อ้างอิง
           -เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร

         ตัวอย่างรายงานการประชุม
                         รายงานการประชุมๅ....(หน่วยงานที่จัดการประชุม)…
ครั้งที่…………………..
เมื่อวันที่………………….
ผู้มาประชุม ……………(ผู้มีสิทธิ์ในการประชุม)……………
ผู้ไม่มาประชุม………………………………………
ผู้เข้าร่วมประชุม…………………………………………
เริ่มประชุมเวลา………………………………
             ประธานกล่าวเปิดการประชุม
             ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ
             ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องการรับรองรายงานการประชุม
             ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเสนอให้ที่ประชุมทราบ
             ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
             ระเบียบวาระที่ 3 ระเบียบวาระที่ 4 อาจอยู่ด้วยกันก็ได้
             ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่น (ถ้ามี)
             ประธานกล่าวปิดการประชุม
             เลิกประชุมเวลา …………….
........................................
ผู้จดรายงานการประชุม


ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
การจัดทำสำเนา เราควรที่จะทำไว้ทั้งสองฉบับ อีกฉบับให้อีกคนอีกฉบับเราทำเก็บไว้เสมอ เพื่อการป้องกันตัวเราเอง
อนุญาต เป็นเรื่องส่วนตัว ยินยอม ยอมใช้ ไม่เกี่ยวข้องกับงบประมาณ ศึกษาต่อ ลาออก
อนุมัติ เรื่องที่เป็นความรับผิดชอบขององค์กร เกี่ยวข้องกับงบประมาณของหน่วยงาน
หนังสือราชการ ผู้ที่มียศตำแหน่งสูงกว่าเมื่อส่งหนังสือให้กับบุคคลที่มีตำแหน่งน้อยกว่า และเมื่อบุคคลที่มีตำแหน่งน้อยกว่ารับ จะ ‘’รับทราบ’’ แต่ถ้ากลับกัน ผู้ที่มียศตำแหน่งสูงกว่ารับหนังสือกับบุคคลที่มีตำแหน่งน้อยกว่า จะใช้ ‘’ทราบ’’

ข้อเสนอแนะ
จากความรู้ที่ดิฉันได้รับในวันนี้เป็นโยชน์กับดิฉันมากในเรื่องของหนังสือราชการ อาจเป็นแค่คำๆหนึ่งแต่ต้องใช้ให้เหมาะสมกับตัวเองในตำแหน่งนั้น ดิฉันจะนำไปใช้ในอนาคตและใช้อย่างถูกต้องค่ะ




นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู รหัส 55113400197 ตอนเรียน D1

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 8

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
การเขียนจดหมายกิจธุระ
การเขียนแบบฟอร์ม การกรอกแบบฟอร์ม
      คำว่า แบบฟอร์มเป็นคำไทยกับภาษาอังกฤษ เอกสารที่จัดทำขึ้นโดยเว้นช่องว่างให้บุคคลแต่ละคนกรอกข้อความ เพื่อให้สะดวกแก่ผู้รวบรวมนำข้อความนั้นไปใช้ประโยชน์

แบบฟอร์มแบ่งเป็น 4 ประเภท
1.แบบฟอร์มที่ใช้ติดต่อกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน แบบฟอร์มชนิดนี้หน่วยงานเป็นผู้จัดเตรียมขึ้น เพื่อให้สะดวก ไม่เสียเวลา เช่น แบบฟอร์มสมัครเรียน แบบฟอร์มสมัครงาน เป็นต้น

2.แบบฟอร์มที่ผู้อื่นขอความร่วมมือ กรอกแบบฟอร์มชนิดนี้ใช้เพื่อต้องการทราบข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงและทรรศนะของประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างแบบสอบถามต่างๆ

3.แบบฟอร์มที่ใช้ภายในองค์กร ชนิดที่เกี่ยวข้องกับบุคคลากรภายในหน่วยงานของตนด้วยวิธีให้กรอกแบบฟอร์ม ชี้แจงเรื่องซึ่งมักให้รายละเอียด  เช่น แบบฟอร์มใบลา แบบฟอร์มขอเงินกู้สวัสดิการ

4.แบบฟอร์มสัญญา สัญญาในที่นี้หมายถึง เอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย เช่น สัญญาจะซื้อจะขายสินค้า สัญญากู้เงิน สัญญาเช่าบ้าน


จดหมายประเภทกิจธุระ
จดหมายกิจธุระ  เป็นจดหมายที่บุคคลติดต่อกับบุคคลด้วยกิจธุระ เช่น การติดต่อสอบถาม การบอกขาย การเตือน การทวงถาม การแจ้งข่าวสาร แต่ถ้ามีการสั่งซื้อมีกำไรมีขาดทุนเรียก จดหมายธุรกิจ

จดหมายเปิดผนึก เป็นจดหมายประเภทกิจธุระ เขียนเผยแพร่ ต่อสาธารณชน สื่อมวลชน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต เพื่อลงหรือประกาศข้อความ และเป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเสนแนะ แสดงความรู้สึก

จดหมายราชการ  จดหมายราชการหรือหนังสือราชการ เป็นจดหมายที่ติดต่อสื่อสารระหว่างส่วนราชการหนึ่งกับอีกส่วนราชการหนึ่ง หรือการติดต่อสื่อสารในระหว่างกระทรวง ทบวง กรม กอง เดียวกัน  รวมทั้งติดต่อกับเอกชนต่างๆ จดหมายราชการถือเป็น เอกสารหลักฐานในการทำงานของรัฐ จึงต้องมีเลขที่


การเขียนประกาศ  
ประกาศ  เป็นการสื่อสารใช้เผยแพร่ได้อย่างกว้างขว้าง คือให้บุคคลทุกระดับได้ทราบ ไม่ใช้ข้อความยาวๆหรือละเอียดซับซ้อน เพราะไม่ดึงดูดความสนใจผู้อ่าน

ประกาศทางราชการ  มักมีข้อความที่ค่อนข้างยาว ละเอียด และเกี่ยวเนื่องกับตัวกฎหมาย โดยมีจุดประสงค์จะประกาศแจ้ง ให้บุคคลทั่วไปได้ทราบและหวังผลในการปฏิบัติ ภาษาเป็นภาษาราชการ


การเขียนจดหมายธุรกิจ
ประเภทจดหมายธุรกิจ
จดหมายสมัครงาน จดหมายขอเปิดเครดิต
จดหมายเสนอขายสินค้าหรือบริการ
จดหมายสั่งซื้อสินค้าและตอบรับสินค้า
จดหมายต่อว่าและปรับความเข้าใจ
จดหมายเตือนหนี้และทวงหนี้
จดหมายไมตรีจิต ขอบคุณ
ที่กล่าวมาทั้งหมด เกี่ยวข้องกับเรื่องเงินล้วนเป็นจดหมายทางธุรกิจ

รูปแบบจดหมายธุรกิจ
1.จดหมายธุรกิจแบบราชการ รูปแบบเหมือนหนังสือราชการภายนอก  แต่ดัดแปลงรายละเอียดเล็กน้อยให้เหมาะสมแก่การปฏิบัติ
2.จดหมายธุรกิจแบบไทย รูปแบบที่ดัดแปลงหรือผสมผสานจากหนังสือราชการภายนอกและจดหมายธุรกิจสากล
3.จดหมายธุรกิจแบบสากล ใช้รูปแบบการเขียนจดหมายธุรกิจของต่างประเทศที่นิยมใช้เป็นสากล แบบบล็อก และแบบเซมิบล็อก

เขียนหัวข้อจดหมายธุรกิจ
-หัวจดหมาย ชื่อ ที่อยู่บริษัท
-วัน เดือน ปี มักระบุเป็นตัวเลข
-คำขึ้นต้นมักใช้คำว่าเรียน
-ข้อความ มักเขียน 2-3 ย่อหน้า ย่อหน้ามักกล่าวถึงเหตุ ย่อหน้าต่อมาคือสิ่งที่ประสงค์หรือสิ่งต้องการให้ปฏิบัติ
-คำลงท้ายมักใช้ ขอแสดงความนับถือ
- ลายเซ็นหรือลายมือของผู้ลงนามในจดหมาย
-ชื่อเต็มของผู้ลงนามในจดหมาย
- ตำแหน่งของผู้ลงนามในจดหมาย
-อักษรย่อของผู้ลงนามหรือผู้พิมพ์ นำพยัชนะต้นของชื่อพยัญชนะต้นของนามสกุลมาย่อแล้วเขียนไว้ เช่น วิสุดา องสะอาด ก็เขียนว่า วอ


ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
- แบบฟอร์มที่ไม่ควรทำในใบสมัครงานคือ การมีรอบลบ รอยน้ำยาลบคำผิด บ่งบอกถึงความไม่รอบคอบ
- การเขียนอะไรเกี่ยวกับตัวเลขควรมีตัวหนังสือกำกับเสมอ ไม่ว่าอะไรก็ตามทางการเงิน ตัวเลข จุดก็ไม่ควรใส่ ควรใส่จุดแล้วเขียนหลังจุดเลย
- ขอแสดงความนับถือต่างจากขอแสดงความเคราพคือ ขอแสดงความเคราพมักใช้กับผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันค่ะ อย่างเช่น กับ พ่อ แต่ขอแสดงความนับถือใช้เป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรา ไม่มีความสนิท

- อย่างสูงต่อท้ายมักใช้กับผู้มีอาวุโส เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย

ข้อเสนอแนะ
จากความรู้ใหม่ที่ได้รับ ด้านการเขียนตัวเลขกำกับตัวหนังสือเป็นความรู้ใหม่ที่ดิฉันคิดว่าใกล้ตัวเกี่ยวกับเรื่องการเงินไม่ว่าในปัจจุบันหรืออนาคตเป็นการเตือนให้ระวังตัวและรอบคอบในการเขียนเพื่อมิให้ผู้อื่นปลอมแปลงได้ หรือแม้แต่เซ็นต์สัญญาอะไร ควรที่จะอ่านให้รอบคอบก่อนที่จะเซ็นต์ และจะต้องมีความรอบคอบในการเขียนใบสมัครงาน
เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเอง



นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู 55113400197 ตอนเรียน D1

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

ขอให้ประเทศสงบสุข

  ขอให้ประเทศสงบสุข  
              ความขัดแย้งทางสังคมเป็นประเด็นปัญหา  ที่ทำให้ประเทศชาติไม่สามารถพัฒนาและเดินหน้าต่อได้ แต่ความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร  ทำไมถึงเกิดความขัดแย้ง  ก็เนื่องด้วย  การกระทำที่บ่งบอกว่าบุคคลกลุ่มหนึ่งทำไม่ถูกต้อง  และบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่ากระทำที่ทำอยู่ถูกต้อง นั้นคล้ายราวกับความคิดไม่เหมือนกัน  แต่เพราะการโลภมากก็สามารถทำให้เกิดความขัดซึ่งกันและกัน ปัญหาที่ทำให้ประเทศไม่สงบสุขในปัจจุบันก็เกิดจาก   การทุจริตของคนกลุ่มน้อยเห็นอำนาจและผลประโยชน์ส่วนนั้นมากกว่าที่จะเห็นประโยชน์ส่วนรวม

             การกระทำที่ทำให้คนกลุ่มน้อยเกิดความขัดแย้งต่อคนอีกกลุ่มซึ่งกระทำไม่ถูกต้อง ดังเหตุการณ์ในปัจจุบันการทำงานของรัฐบาลที่สอดถึงการทุจริต หลายคนคงอาจเคยดูถ่ายทอดสดประชุมสภาทางช่อง 11 ได้เห็นถึงการกระทำต่างๆ ตัวอย่างในเรื่อง รถไฟฟ้า 2 ล้านล้าน   โครงการรับจำนำข้าว  ล้วนแล้วไม่มีการเดินหน้าของโครงการ และดูเหมือนจะไม่สามารถทำออกมาได้ แต่สอดไปในทางทุจริตจะเอาเงินส่วนนั้นที่สร้างมาทำอย่างอื่นหรือเปล่า ?   เหตุการณ์โกงกินแบบนี้จึงทำให้ประเทศไม่สงบสุข ความเป็นอยู่ของคนส่วนมากก็เดือดร้อน คนที่เป็นกลุ่มส่วนน้อยที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ประเทศชาติ คนพวกนี้คงรู้อยู่แก่ใจ แม้แต่สรรพสิ่งที่อยู่บนสวรรค์ พระอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาวเห็นการกระทำเหล่านี้ก็คงเบือนหน้าหนี ไม่มีอยากรับคนกลุ่มนี้ขึ้นสวรรค์แน่แท้ ส่วนนรก อสูรกาย ปีศาล ต้นงิ้ว คงหัวเราะ กิกิ ดังกังวาน รับรู้การกระทำของคนกลุ่มนี้พร้อมรอลงโทษกับการกระทำที่พวกเขาขาดคุณธรรม จริยธรรม แม้แต่บนโลกมนุษย์ ฟ้ายังอยากจะผ่าลง  เปรี้ยงเปรี้ยงสักสองสามทีเพื่อให้ไปรับโทษที่นรกโดยเร็วหรืออาจบอกได้ว่ากลุ่มคนเหล่านี้ คือสีดำแท้ๆนี้เอง คนที่เก่งแต่ขาดคุณธรรม จริยธรรม ทำสิ่งผิดๆก็เหมือนกับไม่มีแสงสว่างอยู่ในตัวเลย มีแต่ทำให้ทุกสิ่งรอบๆตัวแย่ลงเรื่อย ความผิดมากขึ้น บาปก็มากขึ้น

            เราคือคนไทย อยู่บนผืนแผ่นดินไทย นอน นั่ง เดิน กิน รวมถึงปัจจัยสี่ทั้งหลาย เราใช้ทรัพยากรทุกอย่างที่อยู่บนผืนแผ่นดินนี้ ไทยต้องรักไทยเอง หรือเปรียบว่าจะมีใครรักเราไปกว่าพี่น้องกันเอง เราสัญชาติไทย เราเชื้อชาติไทย เรานี้แหละคือคนไทย หยุดการกระทำที่ดูว่าเป็นการกระทำไม่ถูกต้อง  หันมาทำการกระทำที่ถูกต้อง เห็นประโยชน์ส่วนรวม แล้วความขัดแย้งทุกอย่างเบาลง คนไทยจะหันมายิ้มด้วยกันได้ คนไทยจะสามัคคีกันมากขึ้น และจะเป็นประเทศที่สงบสุข ดูสง่ามากขึ้น ถ้าคุณคือคนไทยที่รักประเทศไทย ดิฉันคือคนไทยที่อยากเห็นประเทศสงบสุข

โวหารที่ใช้ : บรรยายโวหาร เทศนาโวหาร สาธกโวหาร
ภาพพจน์ที่ใช้ : สัญลักษณ์  สัทพจน์ บุคลาธิษฐาน อุปมา 
นางสาวสุอังคณา เฟื่องฟู 55113400197 ตอนเรียน D1

วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกสะท้อนการเรียนรู้ครั้งที่ 6

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้
เรื่องความงามทางภาษา
ความงามของภาษา หมายถึง ความสละสลวยไพเราะของภาษาอันเนื่องมาจากการใช้ ศิลปะการ 
                                      ประพันธ์และโวหารภาพพจน์




  โวหาร   หมายถึง  กลวิธีในการใช้ภาษาด้วยการเลือกถ้อยคำมาเรียบเรียงในการเขียนเรื่องราวต่างๆ
                           หรือพูดให้มีความสละสลวย เหมาะสม ชัดเจน เพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์


  ประเภทโวหาร  
1.บรรยายโวหาร บอกเล่าเรื่องราวอย่างแจ่มแจ้ง อย่างรวดเร็ว ไม่มุ่งเน้นเห็นภาพ
2.พรรณาโวหาร บรรยายเรื่องราวละเอียด ประณีต โดยแทรกอารมณ์ และภาพพจน์ให้คล้อยตาม มุ่งเน้นเห็นภาพ  มากกว่าเห็นเรื่องราว
3.เทศนาโวหาร กระบวนการเขียนแบบแนะนำสั่งสอน โน้มน้าวให้ผู้อ่านเห็นและปฏิบัติตาม
4.อุปมาโวหาร เป็นการเปรียบเทียบ ให้เกิดความคมคลายชัดเจน
5.สาธกโวหาร ยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้ชัดเจนยิ่งขึ้น


  ภาพพจน์  หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงเป็นสำนวนที่ไม่กล่าวตรงไปตรงมา แต่ทำให้เกิดภาพและถ่ายทอดอารมณ์อย่างกว้างขว้าง

  ประเภทภาพพจน์  
1.อุปมา คือการเปรียบเหมือน

2.อุปลักษณ์ คือ การเปรียบเป็น

3.อภิพจน์ คือการกล่าวเกินจริง (มักใช้ในภาษาพูด)
ตัวอย่าง คิดถึงใจจะขาด , การบินรักคุณเท่าฟ้า

4.อวพจน์ คือ กล่าวน้อยกว่าความเป็นจริง
ตัวอย่าง เล็กเท่าขี้ตาแมว
,รออีกอึดใจเดียว

5.สัญลักษณ์ คือ การเรียกสิ่งหนึ่งแทนสิ่งหนึ่ง (ในสังคมนั้นๆ)
ตัวอย่าง แสงสว่าง = ปัญญา , หงส์ = คนชนชั้นสูง , ราชสีห์ = ผู้มีอำนาจ

6.นามนัย คือ คล้ายๆกับสัญลักษณ์แต่ต่างกันตรงที่เอาลักษณะบางส่วนของสิ่งนั้นมากล่าวให้หมายถึงส่วนทั้งหมด
ตัวอย่าง สมอ = กองทัพเรือ , เก้าอี้ = ตำแหน่งผู้บริหาร , สิงโตคำราม = อังกฤษ , อินทรีเหล็ก = บราซิล

7.สัทพจน์ คือ คำเลียนเสียงธรรมชาติทั้งหมดรวมถึงเสียงเครื่องดนตรี
ตัวอย่าง แมวร้องเหมียวๆ , เปรี้ยงๆดังเสียงฟ้าฟาด

8.บุคลาธิษฐานหรือบุคคลวัต คือ สิ่งไม่มีชีวิตเลียนแบบการกระทำของคน
ตัวอย่าง ต้นไม้คุยกัน , ดอกไม้ร้องเพลง

9.ปฏิพจน์หรือปฏิภาคพจน์ คือ คำขัดแย้งกันนำมาเข้าคู่กันได้อย่างกลมกลืน
ตัวอย่าง เสียน้อยเสียยาก  เสียมากเสียง่าย


ความรู้ใหม่ที่ได้รับ
คำว่า ‘’ภาพพจน์’’ เรามักจะได้ยินว่า ทำให้ภาพพจน์ฉันเสียหายหมด ที่จริงแล้วเป็นการใช้ที่ผิดเพราะ ภาพพจน์คือ คำที่ก่อให้เกิดภาพขึ้นมา ถ้าให้ถูกต้องเราต้องใช้ ‘’ภาพลักษณ์’’ ทำให้ภาพลักษณ์ฉันเสียหายหมด ภาพลักษณ์ก็คือลักษณ์ที่เรามองให้เป็นภาพ

ภาพพจน์ในเรื่องของสัญลักษณ์ สัญลักษณ์หงส์ในประเทศไทยคือคนชนชั้นสูง แต่สัญลักษณ์หงส์ในประเทศจีน หงส์คือผู้หญิง


ข้อเสนอแนะ

ดิฉันเป็นคนที่ไม่ค่อยได้อ่านหนังสือพิมพ์มากนัก จากการเรียนในวันนี้ทำให้เข้าใจมากขึ้นกับภาพพจน์ทุกอย่างเลย ภาพพจน์ที่เกี่ยวข้องกับนามนัยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์ทำให้เข้าใจมากขึ้นค่ะ แต่แรก งง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ว่าแปลยังไง แต่พอได้เรียนในวันนี้รู้แล้วว่าเป็นการกล่าวส่วนทั้งหมด แต่เขาจะนิยมพูดถึงส่วนหนึ่งของส่วนทั้งหมดค่ะ เป็นการเรียนที่สนุกมากค่ะวันนี้ การสอนยกตัวอย่างแบบใกล้ตัว และที่เจอบ่อยๆ เห็นบ่อยๆ และเราสามารถเข้าใจได้ง่ายขึ้น มันทำให้สนุกและไม่น่าเบื่อ ดิฉันจะนำไปใช้การสอนในอนาคต


นางสาวสุอังคณา  เฟื่องฟู  รหัส 55113400197 ตอนเรียน D1